นกกระสาคอดำ/Black-necked Stork (Ephippiorhynchus asiaticus)

สิ่งที่น่าสนใจ :

หัวและคอสีดำน้ำเงินเป็นเงางาม ปากก็มีสีดำเช่นเดียวกัน ขนต่อจากช่วงคอลงไปจากช่วงไหล่ทั้งสองข้างเป็นสีขาว ขนบนหลัง ตรงกลางหลังถึงโคนหางสีดำ ส่วนล่างของลำตัว ปลายปีก และปลายหางเป็นสีขาว กลางปีกมีคาดดำ ขายาวมากสีเหลืองแดง ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะเหมือนกัน ต่างกันตรงม่านตา ของตัวผู้มีสีน้ำตาลเข้ม ส่วนของตัวเมียมีสีเหลือง ปัจจุบันเป็นนกที่มีอยู่น้อยและหายากมาก

ถิ่นอาศัย :

นกกระสาคอดำ เป็นนกที่มีถิ่นกำเนิดในศรีลังกา พม่า อินเดีย ไทย (พบน้อยมาก) ลาว เวียดนาม เขมร มาเลเซีย นิวกีนี ออสเตรเลีย

อาหาร :

นกกระสาคอดำกิน ปลา กุ้ง หอย กบ เขียด และแมลงบางชนิด

พฤติกรรม :

นกกระสาคอดำไม่ชอบอยู่เป็นฝูง มักหากินโดดเดี่ยว จะอยู่เป็นคู่ในฤดูผสมพันธุ์ ถ้าจะรวมอยู่เป็นกลุ่มบ้าง ก็เฉพาะกลุ่มครอบครัวของมัน ชอบอาศัยอยู่บนต้นไม้ที่ขึ้นโดดเดี่ยวบนยอดเขา หรือต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ริมน้ำ ชอบหากินตามหนองบึงหรือริมน้ำ

สถานภาพปัจจุบัน :

สิ่งมีชีวิตที่เกือบอยู่ในข่ายเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์

อนุกรมวิธาน

CLASS : Aves

ORDER : Ciconiiformes

FAMILY : Ciconiidae

GENUS : Ephippiorhynchus

SPECIES : Black-necked Stork (Ephippiorhynchus asiaticus)

สถานะภาพทางการอนุรักษ์ : สิ่งมีชีวิตที่เกือบอยู่ในข่ายเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์

วัยเจริญพันธุ์ :

นกชนิดนี้ผสมพันธุ์ทำรังวางไข่ประมาณปลายฝนหรือต้นหนาว ทำรังบนยอดไม้ ที่ขึ้นอยู่บนยอดเขาหรือใกล้หนองบึง ใช้รังที่สร้างขึ้นนี้ปลายปี วางไข่ 3 - 5 ฟอง ไข่มีสีขาว

ขนาดและน้ำหนัก :

นกกระสาคอดำเป็นนกขนาดใหญ่ค่อนข้างสูง มีขนาดประมาณ 130-132 เซนติเมตร

ข้อมูลอ้างอิง :

รายละเอียดเพิ่มเติม

สถานที่ชม :


แก้ไขข้อมูล ณ วันที่ 06 เมษายน 2560