นกกระตั้วดำ/Palm Cockatoo (Probosciger aterrimus)

สิ่งที่น่าสนใจ :

นกกระตั้วดำเป็นนกชนิดเดียวที่มีขนสีทึบคล้ายสีดำทั้งลำตัว และมีหงอนโค้งไปทางด้านหลังซึ่งตัวผู้จะมีขากรรไกรล่างที่ใหญ่กว่าตัวเมีย ลิ้นของนกชนิดนี้มีสีแดงแต่บริเวณปลายลิ้นมีสีดำ ขนมีลักษณะลู่ไปตามลมและมีปากสีเข้ม ขนมีสีเทาไล่ไปจนถึงดำ ขามีสีดำอมเทาและมีขนที่ต้นขา ใบหน้ามีรอยแต้มสีแดงที่ไร้ขนบริเวณ ข้างจงอยปาก

ถิ่นอาศัย :

พบในประเทศออสเตรเลีย อินโดนีเซีย (ปาปัว) ปาปัวนิวกินี บริเวณที่พบได้บ่อยที่สุดที่ระดับความสูงต่ำกว่า 750 เมตร จากระดับน้ำทะเลบนเกาะนิวกินี

อาหาร :

ใบไม้อ่อน เมล็ดพืช และผลไม้ บางครั้งกินแมลง และตัวอ่อนของแมลง

สถานภาพปัจจุบัน :

1. เป็นนกที่อยู่ในสถานภาพ ใกล้ถูกคุกคาม (Near Threatened: NT) จากการประเมินสถานภาพความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต โดยองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ International Union for Conservation of Nature (IUCN) หรือ IUCN Red List (2023) 2. เป็นชนิดพันธุ์ของสัตว์ป่าและพืชป่าใน บัญชีหมายเลข 1 ที่ห้ามค้าโดยเด็ดขาด เนื่องจากใกล้จะสูญพันธุ์ ยกเว้นเพื่อการศึกษา วิจัยและเพาะพันธุ์ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นจะต้องได้รับความยินยอมจากประเทศที่จะนำเข้าเสียก่อน ประเทศส่งออกจึงจะออกใบอนุญาตส่งออกให้ได้ โดยจะต้องคำนึงถึงความอยู่รอดของชนิดพันธุ์นั้น ๆ ด้วย ตามอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (The Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora: CITES)

อนุกรมวิธาน

CLASS : Aves

ORDER : Psittaciformes

FAMILY : Cacatuidae

GENUS : Probosciger

SPECIES : Palm Cockatoo (Probosciger aterrimus)

วัยเจริญพันธุ์ :

ฤดูผสมพันธุ์ของนกชนิดนี้จะแตกต่างกันไปในแต่ละปีตามสภาพภูมิอากาศท้องถิ่นแต่โดยทั่วไปจะอยู่ในช่วงเดือนสิงหาคมถึงมกราคม และนกชนิดนี้จะวางไข่ 1 ใบ ภายในรังและจะฟักไข่ออกมาภายใน 30 – 33 วัน ลูกนกที่เพิ่งเกิดจะไม่มีขนและไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ และจะเริ่มมีปีกงอกออกมาภายใน 100 – 110 วัน นอกจากนี้ นกชนิดนี้ยังเป็นนกที่ใช้เวลาในการงอกของปีกนานที่สุดในบรรดานกแก้วทั้งหมดอีกด้วย

ข้อมูลอ้างอิง :

รายละเอียดเพิ่มเติม

สถานที่ชม :


แก้ไขข้อมูล ณ วันที่ 11 เมษายน 2560