นกกระทุง/Spot-billed Pelican (Pelecanus philippensis)

สิ่งที่น่าสนใจ :

ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะคล้ายกัน แต่ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย ปากยาวและแบน มีถุงน้ำใต้คอสีม่วงอ่อน ขอบปากด้านบนมีจุดสีฟ้าคล้ำ ๆ เรียงกัน ขาสั้นสีน้ำตาลและมีเยื่อยึดอยู่ระหว่างนิ้วทั้งสี่ ใช้สำหรับว่ายน้ำ ขณะบินจะหดคอแนบเข้ามาและวางหัวไว้บนไหล่ ขนตามลำตัวสีเทาอ่อน บริเวณขอบตาสีขาว

ถิ่นอาศัย :

พบในประเทศ อินเดีย ไทย กัมพูชา อินโดนีเซีย ศรีลังกา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พม่า เนปาล และเวียดนาม

อาหาร :

อาหารได้แก่ ปลา สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกตามแหล่งน้ำขนาดใหญ่

พฤติกรรม :

มักอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงทั้งช่วงเวลาหากินและทำรัง ขณะหาอาหารจะใช้ถุงใต้คอทำหน้าที่คล้ายสวิงช้อนปลาลงในลำคอ

สถานภาพปัจจุบัน :

1. เป็นนกที่อยู่ในสถานภาพ มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ (Vulnerable: VU) จากการประเมินสถานภาพชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคามของประเทศไทย สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (2023) 2. เป็นนกที่อยู่ในสถานภาพ ใกล้ถูกคุกคาม (Near Threatened: NT) จากการประเมินสถานภาพความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต โดยองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (International Union for Conservation of Nature: IUCN) หรือ IUCN Red List (2017)

อนุกรมวิธาน

CLASS : Aves

ORDER : Pelecaniformes

FAMILY : Pelecanidae

GENUS : Pelecanus

SPECIES : Spot-billed Pelican (Pelecanus philippensis)

สถานะภาพทางการอนุรักษ์ : สูญพันธุ์จากประเทศบังคลาเทศ และฟิลิปปินส์

วัยเจริญพันธุ์ :

นกกระทุงทำรังอยู่บนต้นไม้รวมกันเป็นฝูง วางไข่คราวละ 1 – 5 ฟอง และใช้เวลาฟักไข่ประมาณ 30 วัน โดยทั้งตัวผู้และตัวเมียผลัดกันทำหน้าที่

ขนาดและน้ำหนัก :

นกกระทุงเป็นนกน้ำขนาดใหญ่ ขนาดความยาวประมาณ 140 เซนติเมตร

ข้อมูลอ้างอิง :

รายละเอียดเพิ่มเติม

สถานที่ชม :


แก้ไขข้อมูล ณ วันที่ 11 เมษายน 2560