นกขุนทอง/Common Hill Myna, Hill Myna (Gracula religiosa)

สิ่งที่น่าสนใจ :

ทั้งตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะเหมือนกัน ขนทั่วตัวสีดำเหลือบเขียวและม่วงเงา ๆ ยกเว้นที่โคนขนปีกด้านล่างมีแถบสีขาว นัยน์ตาสีน้ำตาล ปากสีแดงส้ม มีเหนียงขนาดเล็กสีเหลืองแดงสดที่ด้านข้างของใบหน้าใต้ตา และมีเหนียงขนาดใหญ่สีเหลืองสดเช่นเดียวกันคลุมทั่วท้ายทอย นกขุนทองทางภาคใต้ตั้งแต่คอคอดกระลงไปมีลำตัวใหญ่ เรียกนกขุนทองควาย มีเหนียงทั้งสองดังกล่าวไม่เชื่อมติดกัน( G.r. religiosa) ส่วนนกขุนทองที่พบเหนือคอคอดกระขึ้นมามีขนาดเล็กกว่า และเหนียงทั้งสองชนิดเชื่อมติดกัน (G.r. intermedia)

ถิ่นอาศัย :

พบในประเทศภูฏาน บรูไนดารุสซาลาม กัมพูชา จีน อินเดีย อินโดนีเซีย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มาเลเซีย พม่า เนปาล ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย เวียดนาม และฮ่องกง

อาหาร :

มักผลไม้มากกว่า เช่น กล้วย มะละกอ และลูกไม้ต่าง ๆ รวมทั้งพริกด้วย กินแมลง ปลวก ตัวหนอน ไข่มด

พฤติกรรม :

อาศัยตามป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบชื้น ป่าดงดิบแล้ง และป่าดงดิบเขา ชอบเกาะยอดกิ่งไม้สูง ๆ อยู่กันเป็นฝูงใหญ่ ๆ ตามป่าลึกเชิงเขามีชุกชุม เชื่องคน คนนิยมเลี้ยงเพราะสามารถพูดเลียนเสียงคน

สถานภาพปัจจุบัน :

1. เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2562 2. เป็นนกที่อยู่ในสถานภาพ ใกล้ถูกคุกคาม (Near Threatened: NT) จากการประเมินสถานภาพชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคามของประเทศไทย สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (2023) 3. เป็นนกที่อยู่ในสถานภาพ เป็นกังวลน้อยที่สุด (Least Concern: LC) จากการประเมินสถานภาพความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต โดยองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (International Union for Conservation of Nature: IUCN) หรือ IUCN Red List (2016) 4. เป็นชนิดพันธุ์ของสัตว์ป่าและพืชป่าใน บัญชีหมายเลข 2 ที่ยังไม่ถึงกับใกล้จะสูญพันธุ์ จึงยังอนุญาตให้ค้าได้ แต่ต้องมีการควบคุมไม่ให้เกิดความเสียหาย หรือลดปริมาณลงอย่างรวดเร็วจนถึงจุดใกล้จะสูญพันธุ์ แต่ต้องมีการควบคุมไม่ให้เกิดความเสียหาย หรือลดปริมาณลงอย่างรวดเร็วจนถึงจุดใกล้จะสูญพันธุ์ โดยประเทศที่จะส่งออกต้องออกหนังสืออนุญาตให้ส่งออกและรับรองว่าการส่งออกแต่ละครั้งจะไม่กระทบกระเทือนต่อการดำรงอยู่ของชนิดพันธุ์นั้น ๆ ในธรรมชาติ ตามอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (The Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora: CITES)

อนุกรมวิธาน

CLASS : Aves

ORDER : Passeriformes

FAMILY : Sturnidae

GENUS : Gracula

SPECIES : Common Hill Myna (Gracula religiosa)

สถานะภาพทางการอนุรักษ์ : สูญพันธุ์ในประเทศบังคลาเทศ

วัยเจริญพันธุ์ :

นกขุนทองผสมพันธุ์เดือนเมษายน – มิถุนายน ทำรังออกไข่ในโพรงไม้สูง ปูโพรงด้วยเศษหญ้าแห้ง ขน สิ่งสกปรก ตลอดจนเปลือกไม้ ไข่ชุดละ 2 – 3 ฟอง

ขนาดและน้ำหนัก :

มีขนาดลำตัวยาวประมาณ 30 เซนติเมตร

ข้อมูลอ้างอิง :

รายละเอียดเพิ่มเติม

สถานที่ชม :


แก้ไขข้อมูล ณ วันที่ 11 เมษายน 2560