ตะพาบม่านลาย/Asian Narrow-headed Softshell Turtle (Chitra chitra )

สิ่งที่น่าสนใจ :

เป็นตะพาบที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก จมูกยื่นเป็นหลอด กระดองอ่อนนุ่มติดกับลําตัว หัวยาวเรียว ตาอยู่ใกล้ส่วนปลายสุดของหัว กระดองส่วนบนสีน้ําตาลเทาออกเหลือง มีลายเส้นหนาสีน้ําตาลอ่อนขอบสีน้ําตาลเข้มบนหัว คอ และกระดองบน โดยบริเวณฐานคอมีลายรูปอักษรวี (V) มีสีอ่อนตามขอบกระดอง ส่วนท้องจะมีสีขาวหรือขาวอมชมพู

ถิ่นอาศัย :

พบในอินเดีย พม่า ปากีสถาน สำหรับเมืองไทยพบในแม่น้ําแคว แม่น้ําแม่กลอง และแม่น้ําปิง บริเวณที่น้ําใส และท้องน้ําเป็นทราย

อาหาร :

ตะพาบม่านลายเป็นพวกซุ่มดักกินเหยื่อ ชอบกินกบ เขียด ปู กุ้ง ปลา

พฤติกรรม :

หาเหยื่อด้วยวิธีการซุ่ม โดยฝังตัวอยู่ใต้ทรายในพื้นน้ําโผล่มาแต่เฉพาะตาและจมูกเท่านั้น เนื่องจากเป็นตะพาบที่มีขนาดใหญ่ มีน้ำหนักตัวมาก การเดินบนบกทำได้ลำบาก ตะพาบชนิดนี้จึงใช้ชีวิตเกือบทั้งหมดในน้ำ จะขึ้นบกเฉพาะเมื่อต้องการออกไข่ ชอบอยู่ตามลำธารน้ำไหลที่พื้นเป็นทราย

อนุกรมวิธาน

CLASS : Reptilia

ORDER : Testudines

FAMILY : Trionychidae

GENUS : Chitra

SPECIES : Asian Narrow-headed Softshell Turtle (Chitra chitra)

อายุเฉลี่ย :

อายุยืนยาวได้กว่า 100 ปี

วัยเจริญพันธุ์ :

ชอบวางไข่บนตลิ่งที่เป็นทราย หรืดโคลนที่มีหญ้าสดๆเท่านั้น โดยขุดหลุมลึก 40-50 เซนติเมตร เมื่อออกไข่เสร็จแล้วจะปิดทรายไว้ปากหลุม ออกไข่ครั้งละ 60-110 ฟอง ระยะเวลาฟักไข่นาน 55-65 วัน

ขนาดและน้ำหนัก :

กระดองส่วนบนยาวเต็มที่ 122 เซนติเมตร หนัก 100 -120 กิโลกรัม

ข้อมูลอ้างอิง :

รายละเอียดเพิ่มเติม

สถานที่ชม :


แก้ไขข้อมูล ณ วันที่ 06 เมษายน 2560