กระดองหลัง ของเต่าดาวอินเดียจะเป็นรูปโดมสูง ซึ่งจะความชันของด้านข้างกระดองจะตั้งสูงเกือบจะเป็นแนวตั้ง แผ่นเกล็ดแต่ละแผ่นจะมีตั้งแต่เป็นแผ่นเรียบ หรือมีแผ่นที่ยกสูงเป็นแบบปิรามิด ในแต่ละเกล็ดตรงกลางสีเหลือง และมีเส้นสีเหลืองหรือน้ำตาลที่กระจายออกเป็นเหมือนเส้นรังสี ซึ่งจะสร้างลวดลายที่เป็นที่มีของชื่อว่าเต่าดาว สีพื้นของเกล็ดกระดองสีน้ำตาลหรือดำ
เต่าดาวอาศัยอยู่ในทวีปเอเชีย มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดียและประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นเต่าบกซึ่งสามารถพบได้ทั่วไปในทวีปต่าง ๆ ทั่วโลก
เป็นสัตว์กินพืชเป็นอาหารหลัก ซึ่งส่วนใหญ่จะประกอบด้วย ผลไม้ที่รวงที่พื้นดิน ดอกไม้ หญ้าและใบของต้นตะบองเพชร และกินซากสัตว์ถ้ามี
เป็นสัตว์หากินกลางวัน โดยเฉพาะช่วงเย็นและช่วงเช้า ไม่มีการจำศีลในช่วงฤดูหนาว แต่จะลดกิจกรรมในช่วงฤดูร้อนและฤดูหนาว
แม่เต่าดาวพม่าจะวางไข่ครั้งละ 7 ฟอง และจะฟักออกเป็นตัวหลังจากนั้น 47 ถึง 257 ซึ่งขึ้นอยู่กับอุณภูมิ โดยลูกเต่าที่เกิดใหม่ลายบนกระดองหลังจะเป็นรูปผีเสื้อหรือคันธนู และลายดังกล่าวจะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นรูปรัศมีดาว เต่าเพศผู้จะถึงวัยเจริญพันธุ์ในช่วงอายุ 6 - 8 ปี ส่วนเพศเมีย 8 - 12 ปี
เมื่อถึงวัยเจริญพันธุ์ความยาวของกระดองในเพศผู้จะอยู่ในช่วง 6 - 8 นิ้ว เพศเมียจะอยู่ในช่วง 10 - 12 นิ้ว
แก้ไขข้อมูล ณ วันที่ 06 เมษายน 2560