ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะคล้ายกัน บนหัวและคอ เป็นหนังสีชมพูปนน้ำตาล มีขนประปรายไม่กี่เส้น ด้านข้างของคอจะมีสีดำคล้ายหนังตกกระ มีขนปุยสีขาวขึ้นรอบคอและไหล่ลักษณะคล้ายพวงมาลัย ขนปีกและหางสีดำ ขนใต้คอ และอกสีขาว ลักษณะเด่นชัดของนกตะกรามคือมีถุงลมคล้ายลูกโป่งห้อยอยู่ที่หน้าอก ถุงนี้ยืดหดได้
พบในประเทศกัมพูชา อินเดีย บริเวณพื้นที่ชุ่มน้ำ ทำรังบนต้นไม้สูงที่มีทรงพุ่มปิดและมีกอไผ่อยู่รอบ ๆ ต้นไม้ที่ทำรัง
นกตะกรามเป็นนกที่กินไม่เลือกทั้งปลา กุ้ง กบ เขียด งู และซากสัตว์เน่าเหม็น บางครั้งเข้าไปแย่งกินอาหารจากพวกนกแร้งด้วย
มักหากินอยู่ตามหนองน้ำ ทุ่งนา ทะเลสาบ ที่โล่ง เป็นนกที่ไม่ส่งเสียงร้อง มักบินร่อนวนอยู่บนท้องฟ้าเช่นเดียวกับนกเหยี่ยวและนกแร้ง อยู่ตามลำพังหรือเป็นฝูงเล็ก ๆ
1. เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2562 2. เป็นนกที่อยู่ในสถานภาพ ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง (Critically Endangered: CR) จากการประเมินสถานภาพชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคามของประเทศไทย สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (2023) 3. เป็นนกที่อยู่ในสถานภาพ ใกล้ถูกคุกคาม (Near Threatened: NT) จากการประเมินสถานภาพความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต โดยองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (International Union for Conservation of Nature: IUCN) หรือ IUCN Red List (2023)
CLASS : Aves
ORDER : Ciconiiformes
FAMILY : Ciconiidae
GENUS : Leptoptilos
SPECIES : Greater Adjutant (Leptoptilos dubius)
สถานะภาพทางการอนุรักษ์ : อาจสูญพันธุ์ในประเทศบังคลาเทศ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พม่า เนปาล ปากีสถาน ไทย และเวียดนาม
นกตะกรามผสมพันธุ์ในช่วงเดือนตุลาคม – มีนาคม ทำรังอยู่บนต้นไม้สูงหรือยอดเขาหินปูน โดยนำกิ่งไม้แห้งมาสานกันหยาบ ๆ ตรงกลางเป็นแอ่ง มักทำรังอยู่บนต้นไม้เดียวกันหลายรัง ปะปนกับรังนกชนิดอื่น ตัวเมียวางไข่ครั้งละ 3 – 4 ฟอง ในฤดูผสมพันธุ์ แผ่นหนังของลำคอมีถุงสีแดงจัด
อยู่ในวงศ์นกกระสาที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ในประเทศไทย โดยมีขนาดลำตัวประมาณ 145 เซนติเมตร
แก้ไขข้อมูล ณ วันที่ 11 เมษายน 2560