นกกระเรียนพันธุ์ไทย/Eastern Sarus Crane (Grus antigone sharpii)

สิ่งที่น่าสนใจ :

เป็นนกน้ำขนาดใหญ่ ลำตัวและปีกสีเทา คอตอนบนและหัวไม่มีขนแต่มีลักษณะเป็นตุ่มหนังสีส้มหรือสีแดงสด บริเวณกลางกระหม่อมเป็นแผ่นหนังเปลือยสีเทาหรือเขียวอ่อน คอยาว เวลาบินคอและขาจะเยียดตรง ขายาวสีแดงอมชมพู มีแผ่นขนหูสีเทา ม่านตาสีส้มแดง ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย

ถิ่นอาศัย :

พบในประเทศไทยกัมพูชา ลาว ไทย และเวียดนาม บริเวณพื้นที่ชุ่มน้ำ พื้นที่เกษตรกรรม และทุ่งนา

อาหาร :

สัตว์น้ำ พืชน้ำ สัตว์น้ำขนาดเล็ก แมลง เมล็ดพืช ข้าวเปลือก หญ้าแห้วทรงกระเทียม

สถานภาพปัจจุบัน :

1. เป็นสัตว์ป่าสงวน ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 และในปัจจุบันองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทยร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ได้นำประชากรนกกระเรียนพันธุ์ไทยปล่อยกลับคืนสู่ธรรมชาติในพื้นที่ชุ่มน้ำของ จ.บุรีรัมย์ ซึ่งนกกระเรียนที่ปล่อยสามารถอยู่รอดและขยายพันธุ์ได้ในธรรมชาติ 2. เป็นนกที่อยู่ในสถานภาพ ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง (Critically Endangered: CR) จากการประเมินสถานภาพชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคามของประเทศไทย สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (2023) 3. เป็นนกที่อยู่ในสถานภาพ มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ (Vulnerable: VU) จากการประเมินสถานภาพความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต โดยองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (International Union for Conservation of Nature: IUCN) หรือ IUCN Red List (2016) 4. เป็นชนิดพันธุ์ของสัตว์ป่าและพืชป่าใน บัญชีหมายเลข 2 ที่ยังไม่ถึงกับใกล้จะสูญพันธุ์ จึงยังอนุญาตให้ค้าได้ แต่ต้องมีการควบคุมไม่ให้เกิดความเสียหาย หรือลดปริมาณลงอย่างรวดเร็วจนถึงจุดใกล้จะสูญพันธุ์ แต่ต้องมีการควบคุมไม่ให้เกิดความเสียหาย หรือลดปริมาณลงอย่างรวดเร็วจนถึงจุดใกล้จะสูญพันธุ์ โดยประเทศที่จะส่งออกต้องออกหนังสืออนุญาตให้ส่งออกและรับรองว่าการส่งออกแต่ละครั้งจะไม่กระทบกระเทือนต่อการดำรงอยู่ของชนิดพันธุ์นั้น ๆ ในธรรมชาติ ตามอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (The Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora: CITES)

อนุกรมวิธาน

CLASS : Aves

ORDER : Gruiformes

FAMILY : Gruidae

GENUS : Grus

SPECIES : Grus antigone

SUBSPECIES : G. a. sharpii

สถานะภาพทางการอนุรักษ์ : สูญพันธุ์ไปจากประเทศไทย

วัยเจริญพันธุ์ :

จับคู่แบบผัวเดียว เมียเดียว ผสมพันธุ์ในช่วงเดือนกรกฎาคม – กันยายน ทำรังขนาดใหญ่ ด้วยกิ่งไม้ขัดสานกันวางไข่ครั้งละประมาณ 1 – 3 ฟอง ระยะฟักไข่ประมาณ 31 – 34 วัน

ขนาดและน้ำหนัก :

ความสูงเฉลี่ยประมาณ 150 – 180 เซนติเมตร นำ้หนักประมาณ 5 – 9 กิโลกรัม

ข้อมูลอ้างอิง :

รายละเอียดเพิ่มเติม

สถานที่ชม :


แก้ไขข้อมูล ณ วันที่ 11 เมษายน 2560